การรื้อถอนอาคารอย่างปลอดภัย

จากข่าวเหตุอาคารตึกสูงถล่มลงมาขณะทำการรื้อถอน ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่เพียงส่งผลกระทบแรงงานเท่านั้น ในบางครั้งการถล่มลงมาของอาคารก็ยังส่งผลกระทบต่อพื้นที่และผู้คนรอบข้างได้อีกด้วยหากไม่มีการป้องกันที่ปลอดภัยมากพอ

วิธีการรื้อถอนอาคารที่ปลอดภัย สำหรับผู้ประกอบอาชีพการรื้อถอนอาคาร โดยทั่วไปได้แบ่งการรื้อถอนออกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทที่ใช้แรงงานคน และ ประเภทที่ใช้แรงงานเครื่องจักร

ทั้งสองประเภทวิธีการรื้อถอนที่ปลอดภัยนั้นมีขั้นตอนที่ไม่ต่างกันมาก ที่จะต่างกันก็คือ ขนาดของอาคารหรือขนาดของโครงสร้าง สำหรับการวางแผนรักษาความปลอดภัยก่อนรื้อถอนอาคาร สามารถแบ่งออกเป็นสองหัวข้อได้แก่ ความปลอดภัยต่อสาธารณะชน และ ความปลอดภัยต่อบุคลากร คนงานในพื้นที่เขตรื้อถอน

รูปภาพจาก : 362 DEGREE
รูปภาพจาก : dr-viruch

ลำดับขั้นตอนการรื้อถอนอาคารที่ปลอดภัยในการป้องกันผลกระทบขณะการทำงานรื้อถอนควรดำเนินการดังนี้

1. สร้างรั้วเป็นเขตการรื้อถอนโดยรอบ และจัดทำทางเข้าออกของเครื่องจักรและรถบรรทุก

2. ติดป้ายโครงการและป้ายเตือนโดยรอบพื้นที่ เพื่อแสดงบุคคลภายนอกทราบถึงเขตแนวการรื้อถอนให้ชัดเจน เพื่อให้ระมัดระวังเมื่อมีการสัญจรบริเวณใกล้แนวเขตรื้อถอน

3. จัดให้มีการคลุมอาคารในกรณีที่พื้นที่จำกัดและเพื่อป้องกันไม่ให้เศษวัสดุจากการรื้อถอนฟุ้งกระจายหรือตกกระเด็นออกไปกระทบพื้นที่ข้างเคียง

4. จัดการลำดับงานรื้อถอนอย่างละเอียด และกำหนดผู้ปฏิบัติงานและผู้ควบคุมงานแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน

รูปภาพจาก : http://www.home.co.th
  • เริ่มจากรื้อวัสดุแขวนลอยภายนอกและภายในอาคาร
  • รื้อครีบภายนอกทั้งหมด
  • รื้อพื้นกันสาดภายนอกให้เหลือคานและเหล็กพื้นไว้
  • รื้อหน้าต่าง ประตู ผนังกันห้องและฝ้าเพดานที่ทำจากไม้
  • รื้อเฟอร์นิเจอร์ สุขภัณฑ์ที่นำกับมาใช้ได้
  • รื้อพื้นทั้งหมดจากพื้นชั้นลอยขึ้นไปจนถึงชั้นดาดฟ้า ( เก็บเหล็กไว้ )
  • รื้อผนังก่ออิฐฉาบปูนชั้นบนทั้งหมด สำหรับผนังภายนอกและ parapet ชั้นดาดฟ้าต้องรื้อด้วยความระมัดระวัง
  • รื้อถอนคานและเสาภายในชั้นบน ( ตัดเหล็กพื้น คาน เสา )
  • รื้อถอนคานและเสาภายนอก ( รอบนอก ) พร้อมกันที่ละด้าน โดยยึดรั้งพับเข้าภายในอาคาร ( ด้านที่ติดถนนหรือมีการสัญจรให้รื้อในลำดับหลัง )
  • รื้อถอนชั้นถัดไปลงมาตามขั้นตอนข้างต้น
  • จนกระทั่งพิจารณาแล้วว่าโครงสร้างอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย จึงเริ่มรื้อถอนคานและเสาที่เหลือสลับกับการขนย้ายเศษขยะ ออกนอกพื้นที่จนกระทั่งถึงขั้นตอนการขุดรื้อฐานรากออก และปรับพื้นที่ให้เรียบร้อย

5. มีการวางแผนการจัดการในเศษวัสดุที่เกิดจากการรื้อถอน อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย เศษวัสดุที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อมก็จำเป็นต้องดำเนินการกำจัดอย่างถูกต้อง

7. ตรวจสอบและป้องกันความเสียหาย ของเส้นทางการลำเลียงเศษวัสดุที่จะนำไปทิ้งจะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนและเสียหายให้กับชุมชนหรือเส้นทาง

การรื้อถอนอาคารเป็นงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้ที่ดำเนินงานที่เคยมีประสบการณ์การรื้อถอนเท่านั้น จะต้องมีการศึกษาและพิจารณาถึงพฤติกรรมอาคารเมื่อถูกรื้อถอนในแต่ละขั้นตอนโดยวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ รวมไปถึงการประเมินผลกระทบที่จะเกิดกับ สิ่งแวดล้อม ตลอดระยะเวลาการทำงาน


Leave a comment

Design a site like this with WordPress.com
Get started